ร้อยไหม
การร้อยไหม คือ การนำไหมละลายสอดลงในชั้นผิวหนัง โดยใช้เข็มนำเส้นไหมที่มีเงี่ยงเข้าไป ไม่มีอันตรายเพราะหลังจากผ่านไปประมาณ 6 – 18 เดือนเส้นไหมก็จะละลายไปได้เอง
เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็จะคล้ายกับลักษณะของตะขอเกี่ยว คือผิวก็จะถูกเงี่ยงเกี่ยวขึ้นมาตามเส้นไหมในทิศทางที่คุณหมอร้อยไหมเข้าไป สามารถดึงแก้มที่หย่อนให้ยกขึ้นได้ทันทีหลังทำ โดยจะมีจุดที่ยึดอยู่ตรงบริเวณขมับดึงเข้าหากัน และจุดที่ดึงอยู่ตรงบริเวณแก้มส่วนล่าง
คุณหมอมีคำตอบมาฝากในบทความนี้เกี่ยวกับ การเลือกชนิดของเส้นไหมให้เหมาะสมกับใบหน้าของแต่ละคน ข้อดี-ข้อเสียของการร้อยไหม รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากร้อยไหม
นอกจากนี้ยังคนที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเลือกคลินิก ร้อยไหมที่ไหนดี ให้ปลอดภัยไม่มีผลข้างเคียง ได้ผลการทำที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งเราควรเลือกทำกับแพทย์ที่ชำนาญในคลินิกที่ได้มาตรฐาน ส่วนข้อสงสัยที่ว่า ร้อยไหม เจ็บไหม ตามปกติแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างทำการร้อยไหม แต่อาจจะรู้สึกเจ็บบ้างเฉพาะตอนฉีดยาชาเท่านั้นครับ
ภาพการรีวิวหลังจากที่ร้อยไหมเสร็จแล้ว 1 ข้าง (ทันที) เทียบกับอีกด้านที่ยังไม่ได้ร้อยไหม
1. ร้อยไหม มีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง?
No. | ข้อเสีย | ข้อดี |
1 | ด้วยสาเหตุที่บนเส้นไหมจะมีเงี่ยง ที่ทำหน้าที่คล้ายกับตะขอ ที่ใช้ในการดึงผิวไปในทิศทางที่ต้องการถ้าร้อยไหมตื้นเกินไป หรือร้อยไหมด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดรอยบุ๋มขึ้นบริเวณแนวที่เราร้อยไหม | หลังจากร้อยไหมจะเห็นผลได้ทันทีเพราะเงี่ยงไหมที่ทำหน้าที่คล้ายกับตะขอจะช่วยเกี่ยวดึงผิวขึ้นได้ทันที |
2 | เส้นไหมที่ร้อยเข้าไปในผิวนั้นจะไปกระตุ้นให้ เซลล์สร้างคอลลาเจน (fibroblast) เกิดการสร้างเส้นใย collagen และ elastin ขึ้นมาแต่ถ้าเส้นใยเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ถูกต้อง และซ้อนทับกันมากจนเกินไป เราจะเรียกกันว่า พังผืด (fibrosis) หากอยู่ในผิวชั้นตื้นเกินไปจะไปดึงรั้งผิวให้ผิดรูปได้ครับ | หากอยู่ในชั้นผิวที่เหมาะสมและอยู่ในแนวที่ถูกต้อง เส้นใย collagen และ elastin ที่ถูกกระตุ้นให้สร้างขึ้นมานั้น (เปรียบเทียบได้กับการขึงเส้นเอ็นที่อยู่บนใบหน้าตามธรรมชาติ) ก็จะสามารถช่วยกระชับผิว รวมทั้งประคองผิว |
3 | อายุการใช้งานของไหมละลายจะขึ้นอยู่กับเส้นไหมแต่ละชนิดด้วย ซึ่งโดยปกติแล้วจะอยู่ได้ประมาณ 4 เดือน – 2 ปีแต่ในคนส่วนใหญ่ เมื่อเวลาผ่านไป 6-8 เดือน ผิวก็จะหลุดออกจากเส้นไหมได้ก่อน ถึงแม้ไหมจะยังละลายไม่หมดก็ตาม ทำให้ผลการรักษาอาจอยู่ได้ไม่นานอย่างในคำที่โฆษณาอีกทั้งไหมละลายบางชนิดที่ถึงแม้จะอยู่ได้นาน แต่ขาดความยืดหยุ่น อาจจะเกิดการเคลื่อนตัว และเส้นไหมทะลุโผล่ออกมานอกผิวหนังได้เมื่อผ่านไปเป็นระยะเวลานาน | ในทุกวันนี้ไหมละลายที่ปลอดภัย สำหรับใช้ในการร้อยไหม จะทำมาจากวัสดุ 3 ชนิด คือ1. PDO (Polydioxanone)2. PLLA (Polylactate)3. PCL (Polycaprolactone) ซึ่งผ่านการรับรองว่ามีความปลอดภัยในการเย็บแผลจาก FDA ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ |
4 | ถ้าเป็นไหมที่มีส่วนผสมของโลหะ เช่น ทองคำ (ไหมยุคโบราณ) มีความเสี่ยงที่อาจทำให้ผิวไหม้ได้ เนื่องจากโลหะจะดูดความร้อนจากการทำ MRI, X-ray รวมถึงเครื่องสแกนต่าง ๆ ด้วย | ในทุกวันนี้ ไหมละลายได้มีการพัฒนาออกมาใหม่จะไม่มีส่วนผสมของโลหะ ซึ่งสามารถละลายไปได้เองหมดทั้ง 100% ตามธรรมชาติ โดยไม่มีสารตกค้างเหลือไว้เพียงเส้นใย elastin ที่ร่างกายคนเราถูกกระตุ้นให้สร้างขึ้นมา โดยมีข้อดีคือสามารถช่วยในการประคองผิวและกระชับผิว |
5 | ในคนไข้บางรายที่มีโหนกแก้มเด่น คุณหมอจึงมักแนะนำให้ใช้วิธีอื่น ๆ แทนในการช่วยปรับรูปหน้าให้สวยงามและได้สัดส่วน เช่น ฉีดฟิลเลอร์แก้มตอบเพราะหากร้อยไหมอาจจะดูไม่ค่อยสวย เพราะจะยิ่งทำให้โหนกแก้มเด่นยิ่งกว่าเดิมได้ | ในผู้ที่มีปัญหาแก้มตอบบางรายสามารถใช้ไหมดึงไขมันขึ้นมาเติมแก้มได้เพื่อช่วยให้ดูมีแก้มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้แก้มล่างยุบ ส่วนแก้มบนจะดูเต็มขึ้นทั้งนี้ คนไข้จะต้องมีเนื้อแก้มส่วนล่างให้ดึงด้วย เพราะถ้าคนไข้ท่านนั้นไม่มีเนื้อก็อาจจะต้องใช้การฉีดฟิลเลอร์แทนการร้อยไหมครับ |
6 | คนไข้ควรรับทราบความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นก่อน คือ อาจมีอาการบวมช้ำหลังการร้อยไหม ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการฉีดยาชา รวมทั้งอาจมีเลือดที่ออกบริเวณใต้ผิวหนังหลังทำทันทีแม้ว่าอาจบวมน้อย แต่ในช่วง 3-4 วันแรกก็อาจจะบวมมากขึ้นและส่วนใหญ่อาการบวมก็จะสามารถหายไปได้เองภายในระยะเวลา 7-14 วัน | ควรพิจารณาเลือกร้อยไหมกับแพทย์ที่มีความชำนาญ รวมถึงร้อยด้วยเทคนิคที่ถูกต้อง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการบวมช้ำลงได้มาก และช่วยให้คนไข้มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในการทำ |
7 | บางคลินิกนำไหมไปปั่นเป็นผงเล็ก ๆ (ที่เรียกกันว่าไหมน้ำ) แล้วฉีดแทนฟิลเลอร์ วิธีการนี้ไม่ปลอดภัยเพราะอาจทำให้เกิดพังผืดได้ครับ ส่วนในบางคลินิกใช้การร้อยไหมเติมแทนการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งไม่แนะนำให้ทำแบบนี้ครับ เนื่องจากต้องใช้ปริมาณเส้นไหมจำนวนมากในการเติมเต็มในบริเวณร่องแก้มหรือใต้ตา อาจต้องใช้ไหมมากถึงร้อย ๆ เส้นเลยทีเดียว ซึ่งจะทำให้เกิดพังผืด และเกิดปัญหาต่อไปในอนาคตได้อีกด้วย | สำหรับคนไข้บางรายที่ดื้อโบท็อก หากต้องการทำหัตถการเพื่อแก้ปัญหาการมีริ้วรอยเล็ก ๆ บริเวณมุมปากที่ดูเผิน ๆ จะคล้ายกับมีลักยิ้ม รวมทั้งริ้วรอยบริเวณหน้าผากหรือหางตาการร้อยไหมด้วยไหมเส้นเล็ก ๆ จะสามารถช่วยแก้ปัญหาลดริ้วรอยเหล่านี้ได้เป็นอย่างดี |
ขอบคุณข้อมูล: ร้อยไหมก้างปลา ดึงแก้ม จาก Youtube Channel: V Square Clinic
ตามคลิป VDO เห็นได้ชัดเจนว่า การร้อยไหมสามารถช่วยดึงแก้มได้ทันที ให้ยกกระชับยิ่งขึ้น
2. สาเหตุใดจึงหน้าบวมเป็นเวลา 14 วันหลังจากร้อยไหม ?
ร้อยไหมแล้วหน้าบวม อาจมีสาเหตุเกิดได้จาก 4 ข้อหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 เนื้อแก้มเยอะ หรือดึงเยอะเกินไป
เพื่อผลลัพธ์การทำที่ดี และเพื่อให้สามารถดึงไหมได้เยอะขึ้น ส่วนใหญ่คุณหมอจะแนะนำให้ทำเมโสแฟตเพื่อให้แก้มน้อยลงก่อนในคนที่เนื้อแก้มเยอะ
แต่ในกรณีคนที่ใจร้อนหรือมีเวลาจำกัดก็สามารถร้อยไหมได้ แต่อาจจะดึงไหมได้น้อยลง เพราะเนื้อแก้มจะไปกองอยู่ด้านบนถ้าดึงไหมเยอะ และทำให้หน้าดูเหมือนบวม ๆ ได้ คนไข้ในเคสที่มีลักษณะนี้จะบวมอยู่นานเกินกว่า 1 เดือน จะเริ่มดีขึ้นก็ต่อเมื่อรอให้ไหมเริ่มคลายซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน
เทคนิค fat-reposition (การดึงไขมัน) ด้วยวิธีการร้อยไหม ในการร้อยไหมนั้นยังสามารถช่วยให้คนไข้รายที่มีปัญหาเนื้อแก้มเยอะ มีเนื้อแก้มน้อยลงได้ด้วยเช่นกัน หากแต่ต้องร้อยไหมหลาย ๆ ครั้ง และใช้เวลาหลายเดือน
2.2 การดึงไหมผิดแนว
ใบหน้าอาจดูบวม โหนกแก้มเนื้อเยอะขึ้น หากทำการร้อยไหมเพื่อดึงร่องแก้ม ซึ่งโดยปรกติแล้วเรามักนิยมใช้การร้อยไหมเพื่อแก้ไขความหย่อนของแก้มในบริเวณใกล้ๆ มุมปากเป็นส่วนใหญ่มากกว่า
ความชำนาญในการประเมินทรงหน้ารวมทั้งเทคนิคของแพทย์ก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกันในการร้อยไหม หากดีพร้อมในทุกองค์ประกอบก็ย่อมส่งผลให้การร้อยไหมออกมาสวยเข้ารูปอย่างแน่นอน
2.3 การอักเสบติดเชื้อ
· โดยปรกติคนไข้มักจะมีอาการบวมมากขึ้น หลังการร้อยไหม 3-4 วันแรก
· หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อย ๆ ยุบลง จนกระทั่งใบหน้าจึงจะเข้าที่ ภายในระยะเวลา 14 วัน
· ข้อสังเกตว่าควรจะเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและให้ยากินเพิ่มตามอาการหรือไม่นั้น ดูได้จากหากหลังจากผ่านไป 4 วันแล้วยังมีอาการบวมแดงมากขึ้น ปวดมากขึ้นกว่าเดิม คนไข้ต้องรีบกลับมาพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจประเมินครับ
2.4 อาการที่อาจเกิดขึ้นคือ บวมเลือด และ บวมน้ำ
ทั้งอาการบวมเลือด และบวมน้ำนี้ ล้วนเป็นอาการที่ไม่มีอันตราย ซึ่งภายในช่วงเวลา 2-3 อาทิตย์ก็จะสามารถยุบไปได้เองจนกระทั่งหายดีเป็นปกติ
· บวมเลือด ลักษณะอาการคือ จะมีเลือดออกในชั้นผิว (hematoma)
· บวมน้ำ ลักษณะอาการคือ จะมีน้ำคั่งในชั้นผิว ซึ่งเกิดจากการอักเสบ (edema)
ในการลดโอกาสที่จะเกิดอาการบวมน้ำและบวมเลือด จะใช้เข็มในการร้อยไหมเพื่อนำเส้นไหมเข้าสู่ผิว ซึ่งเข็มที่ใช้จะมีลักษณะแตกต่างกันไปออกไป
เข็มที่ใช้ในการร้อยไหมมีดังนี้ : เข็ม L, เข็มทู่, เข็มตัด, เข็มแหลม ตามลำดับ
การร้อยไหมโดยใช้เข็มแต่ละแบบ มีข้อดี ข้อเสีย ที่แตกต่างกัน โดยสามารถสรุปได้เป็น 4 รูปแบบ
A. ใช้เข็มแหลม จะมีโอกาสเกิดการ บวมเลือด > บวมน้ำ
การใช้เข็มแหลมในการร้อยไหมนั้นจะตัดผ่านเนื้อเปรียบเทียบได้กับการใช้มีดที่มีความคมตัด ซึ่งจะเจ็บน้อยกว่า มีความเสี่ยงที่จะบวมน้ำน้อยกว่า เส้นเลือดขนาดเล็ก ๆ ที่โนตัดผ่านจะมีการสมานได้เร็วกว่าการใช้เข็มทู่ในการร้อยไหม
ข้อควรระวังก็คือหากร้อยไหมด้วยเข็มแหลมแล้วเกิดไปโดนเส้นเลือดใหญ่ ย่อมจะมีโอกาสเกิดอาการบวมเลือดได้ จึงต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์เป็นสำคัญครับ
B. ใช้เข็มทู่ จะมีโอกาสเกิด บวมน้ำ > บวมเลือด
การใช้เข็มทู่ในการร้อยไหมนั้นมีความเสี่ยงที่จะบวมน้ำเยอะกว่า และจะเจ็บมากกว่า เนื่องจากเข็มทู่จะผ่านเนื้อโดยการฉีกออก หากเปรียบเทียบไปแล้วจะคล้ายกับการใช้มีดทื่อตัด สามารถหลบเส้นเลือดขนาดใหญ่ได้ แต่ถ้าไปเจอกับเส้นเลือดขนาดเล็กก็จะยังโดนฉีกขาดอยู่ดี ซึ่งย่อมมีโอกาสที่จะเกิดเลือดออกได้
ในการร้อยไหมเข็มทู่ที่ใช้จะมีขนาดใหญ่กว่าเข็มทู่ที่ใช้สำหรับการฉีดฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการบวมช้ำได้มากกว่าฟิลเลอร์
แพทย์บางท่านจะถนัดใช้เข็มแหลมในการร้อยไหมมากกว่า เนื่องจากเข็มแหลมจะสามารถควบคุมความแม่นยำได้ดีกว่าเข็มทู่ ส่วนการฉีดฟิลเลอร์นั้น หากใช้เข็มแหลมผลลัพธ์ที่ออกมาจะสวยกว่าใช้เข็มทู่ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเข้าหลอดเลือด ฉะนั้น สำหรับการฉีดฟิลเลอร์จึงจำเป็นต้องใช้เข็มทู่จะดีกว่าครับ
C. เข็มตัด ลักษณะจะเป็น กึ่งแหลมกึ่งทู่
D. เข็ม L ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากเข็มตัดอีกขั้นหนึ่ง
ที่ V Square Clinic หมอจะประเมินและเลือกใช้ให้เหมาะกับคนไข้แต่ละคน ซึ่งจะมีเข็มทุกแบบให้เลือกใช้
ส่วนคำถามที่มักพบบ่อยที่ว่าเข็มประเภทใดที่ดีที่สุด จะไม่สามารถระบุได้ครับ เนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับการประเมินเนื้อเยื่อของคนไข้ รวมถึงความถนัดของคุณหมอแต่ละท่านก็เป็นสิ่งสำคัญ อาทิเช่น หากคนไข้มีพังผืดเยอะเพราะเคยเป็นสิวมาก่อนในอดีต ไม่ควรใช้เข็มทู่ในการร้อยไหมเพราะอาจเกิดการบวมช้ำมากกว่าเข็มแหลม
3. ทำไมหลังร้อยไหมจึงคลายเร็ว แค่ 3-4 เดือนก็คลายแล้ว ?
อายุการใช้งานของเส้นไหมที่จะสามารถดึงผิวไว้ได้นานเพียงใดนั้น ประกอบด้วย 3 ปัจจัยสำคัญ ดังต่อไปนี้
3.1 ลักษณะของ อีลาสติน (Elastin) ในเนื้อของคนไข้
โดยเฉลี่ยแล้วของ elastin ในผิวจะมีอายุประมาณ 6 เดือน เส้นไหมที่ใช้ในการร้อยจะมีเงี่ยงสำหรับใช้เกี่ยวเนื้อลักษณะคล้ายกับตะขอ ลองจินตนาการดูครับว่าหากเนื้อเยื่อที่ตะขอเกี่ยวอยู่นั้นเกิดความเสื่อมสภาพ เนื้อจะหลุดออกจากเส้นไหมไปก่อนที่ไหมจะละลายเสียอีก เพราะเงี่ยงของเส้นไหมย่อมไม่สามารถจะเกาะอยู่ได้เป็นระยะเวลานานเท่าที่ควรครับ
ปัญหาจากการร้อยไหมในคนไข้ที่มีอายุมากแล้ว ผิวขาด elastin หลังจากการร้อยไหมผลที่ได้ย่อมจะอยู่ได้สั้นลง
ทางแก้ก็คือ การร้อยเพิ่มหลาย ๆ ครั้งจะสามารถช่วยให้ผลลัพธ์อยู่ได้นานยิ่งขึ้น เนื่องจากการร้อยไหมจะช่วยไปกระตุ้นการสร้าง elastin ให้มากยิ่งขึ้นได้นั่นเอง
3.2 การสร้าง elastin
แม้เวลาจะผ่านไปนานจนเส้นไหมที่ร้อยไว้ได้ละลายไปแล้ว แต่เนื้อเยื่อได้ทำการสร้าง elastin ขึ้นมา หากเทียบไปก็จะคล้ายกับการแปะกาว ความกระชับก็จะยังคงอยู่ต่อไปได้
3.3 อายุของเส้นไหม
วัสดุที่ใช้ร้อยไหมได้ปลอดภัยมี 3 ชนิดคือ PCL / PLLA / PDO เรียงในรูปตามลำดับ
· PCL (Polycaprolactone) มีลักษณะคือ เส้นสีขาวขุ่น เส้นใหญ่ที่สุด ภายในระยะเวลา 18-24 เดือนละลายหมดไปได้เอง มีความยืดหยุ่นสูงที่สุด
· PLLA (Polylactate) มีลักษณะเส้นสีขาวใส ภายในระยะเวลา 12-18 เดือนจะสามารถละลายไปได้หมด ขาดความยืดหยุ่น อาจจะพบปัญหาเส้นไหมขาด หรือไหมทะลุได้บ่อย ๆ
· PDO (Polydioxanone) มีลักษณะคือ เส้นสีน้ำเงินและมีความยืดหยุ่นสูง จึงเป็นไหมชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูล: ร้อยไหมอะไรดีที่สุด? ร้อยไหมแต่ละชนิดต่างกันอย่างไร? จาก Youtube Channel: V Square Clinic
คลิปนี้แสดงถึงการเปรียบเทียบคุณสมบัติ และความยืดหยุ่นของไหมแต่ละชนิด ใช้ในการร้อยไหม
4. ร้อยไหมแต่ละชนิด ราคาแตกต่างกันอย่างไร?
โดยปกติแล้วคนไข้สามารถสอบถามทางคลินิกเพิ่มเติมได้ว่า ร้อยไหมชนิดไหน ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยว่า ไหมปิรันย่า, ไหมกุหลาบ, ไหมทอนาโด, ไหมทับทิม ที่คลินิกต่าง ๆ ตั้งชื่อกันขึ้นมาเองนั่นแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งแท้ที่จริงแล้วล้วนแล้วแต่เป็นชื่อเรียกไหมชนิดต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่ชื่อที่เป็นสากล เพราะไม่ต้องการให้คนไข้สามารถนำราคาไปเช็คเปรียบเทียบกับโรงพยาบาลหรือคลินิกแห่งอื่นได้ การเปรียบเทียบชนิดของไหมสามารถดูได้ตามลักษณะเส้นไหมด้านล่างนี้ โดยจะแยกเป็นชนิดหลัก ๆ ได้แก่
4.1 ตามชนิดวัสดุ PDO, PLLA, PCL
ดังในหัวข้อที่ 3.3 ที่มีรายละเอียดและรูปภาพที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วครับ
4.2 ตามลักษณะเส้นไหม
ไหมกรวย, ไหมเงี่ยงใหญ่, ไหมเงี่ยงเล็ก, ไหมเกลียว, ไหมเรียบ ตามลำดับ
เรียงตามลำดับในรูปภาพด้านบน จะสามารถอธิบายได้ดังต่อไปนี้
· ไหมที่ทำจากวัสดุ PDO จะเป็นสีน้ำเงิน
· ไหมที่ทำจากวัสดุ PLLA จะเป็นสีขาวใส
· ไหมที่ทำจากวัสดุ PCL จะมีสีขาวขุ่น
ซึ่งจากประสบการณ์ที่ผ่านมาจึงสรุปได้ว่า ไหมเงี่ยงใหญ่ คือไหมที่ใช้ดึงหน้าได้ดีที่สุดและคลินิกส่วนใหญ่มักจะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย หากจะแตกต่างกันก็เพียงแค่การตั้งราคาค่าร้อยไหม รวมถึงการตั้งชื่อไหมของคลินิกแต่ละแห่งให้ฟังดูแตกต่างกันออกไปเพียงเท่านั้น
5. หากต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง ร้อยไหม vs ฟิลเลอร์ vs โบท็อก vs Ulthera/Hifu ควรเลือกทำอะไรดีที่สุด?
ควรปรึกษาแพทย์เพื่อช่วยให้คำแนะนำ และสามารถเลือกทำได้ตามความเหมาะสมกับปัญหาของคนไข้เป็นสำคัญ
· ร้อยไหม เหมาะสำหรับคนที่มีงบประมาณจำกัดเพราะมีราคาไม่แพง แต่สามารถเห็นผลลัพธ์หลังทำได้อย่างชัดเจน รวมถึงคนที่มีปัญหาแก้มหย่อนมาก
· การฉีดฟิลเลอร์ เหมาะกับผู้ที่มีใบหน้าหย่อนคล้อย รวมถึงริ้วรอยใต้ตา และร่องแก้มที่ลึก
· การฉีดโบท็อก เหมาะกับผู้ที่มีกล้ามเนื้อกรามเยอะ สังเกตได้จากกรามขึ้นชัดเจนเมื่อกัดฟัน และเป็นคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับริ้วรอยเหี่ยวย่นทั้งบริเวณหางตา และบริเวณหน้าผาก ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจนเมื่อยิ้มกว้างหรือแสดงอารมณ์ต่าง ๆ บนใบหน้า
· การทำ Ulthera หรือ Hifu เป็นหัตถการที่มีราคาที่ค่อนข้างสูง เหมาะกับผู้ที่กลัวเข็ม และมีปัญหาแก้มหย่อนไม่มากนัก ทั้งนี้อาจจะเห็นผลไม่ชัดเจนหากเทียบกับการร้อยไหม
รีวิวร้อยไหม สามารถยกกระชับใบหน้าได้มากเพียงใด ?
ตัวอย่างผลการ ร้อยไหม โดยทีมแพทย์ V Square Clinic
(รูป After คือรูปหลังทำทันที)
ร้อยไหม รีวิว
ร้อยไหม รีวิว
ร้อยไหม รีวิว
ร้อยไหม รีวิว
ร้อยไหม รีวิว
*ผลการรักษาแตกต่างกันแต่ละบุคคล
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.vsquareclinic.com/blogs/facelift/